เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณอันยิ่ง มีอยู่ในโลกนี้ ขอถวายพระพร
ในที่นี้พระคันถรจนาจารย์ก็ประพันธ์คาถากล่าวความซ้ำกับที่พระนาคเสนถวายวิสัชนา
อุปมาข้างต้นนั้น มีใจความเปรียบกลิ่นกับกลิ่นดอกไม้ที่หอมระรื่นตามลมมา อันเป็นเหตุให้
รู้เพราะได้สูบดมจึงทราบได้ว่ามีอยู่ ดุจนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าจะประมาณซึ่งกำลังแห่งพระ
พุทธคุณ โดยเหตุโดยปัจจัยและโดยนัยนับเป็นพ้น ๆ นั้น อาตมาไม่อาจแสดงได้ อาตมานี้เปรียบ
ดังนายมาลาการอันเข้าไปในสวนอุทยาน ซึ่งประกอบด้วยดอกไม้ต่าง ๆ แล้วเก็บดอกไม้
มาร้อยกรองให้วิจิตรงดงามตามที่อาจารย์สั่งสอนมาโดยควรแก่กำลังนั้น อาตมาก็ปานกันกับ
นายมาลาการฉะนี้ บพิตรจงโสมนัสปรีดาในพระพุทธคุณที่อาตมาวิสัชนามาในกาลบัดนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้สวนาการพระนาคเสนวิสัชนา ดังนั้น ก็มีน้ำพระ
ทัยโสมนัสตรัสสรรเสริญว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ผู้เป็นเจ้านำซึ่งอุปมา
อุปไมยมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า พระพุทธคุณานุภาพยังไม่สาบสูญ บริบูรณ์เป็นอันดี ที่โยมคิด
ถามก็สำเร็จความปรารถนา ปัญหานี้จะได้เป็นที่ทำลายเสียซึ่งคำเดียรถีย์ทั้งปวงสืบต่อไปนี้
อนุมานปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้

ธุตังคปัญหาที่ 9 (1)


อันดับนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงจินตนาการหาอรรถปัญหาที่จะไต่
ถามพระนาคเสนต่อไป ก็เกิดวิมัติกังขาสงสัยอันใหญ่ขึ้นในข้อที่พระภิกษุถือธุดงค์ อยู่ในอรัญ-
ญิกประเทศและคฤหัสถ์ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ก็สามารถจะได้บรรลุมรรคผลคุณวิเศษได้เหมือนกันว่า
ผิแลว่าคฤหัสถ์ย่อมตรัสรู้ธรรมวิเศษได้เหมือนภิกษุที่ถือธุดงค์แล้วไซร้ ธุดงคคุณที่ภิกษุถือนั้น
จะไม่มีประโยชน์อะไร เป็นอันไร้ผล ถือไปให้ลำบากเปล่า ๆ อาตมาจักถามปัญหาข้อนี้กะ
พระนาคเสน ผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้ฉลาดในการที่จะสาธกเปรียบเทียบแก้ปัญหา และมีวาจาไพ-
เราะอันประเสริฐ ท่านจะได้บรรเทาความสงสัยของเราให้เสื่อมสิ้น คลี่คลายหายไป ทีนั้นสม
เด็จพระเจ้ามิลินท์ก็ทรงยินดีที่จะถามปัญหาข้อนั้น ทรงร่าเริงบันเทิงพระหฤทัยยิ่งนัก โคโณ วิย

(1) น่าจะเป็นลักขณปัญหา ดูอธิบายเชิงอรรถหน้าที่ 464